วันจันทร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2551

ภูมิปัญญาท้องถิ่น

ภูมิปัญญาท้องถิ่น

เครื่องมือที่ใช้ในการไถนา

ชาวบ้านในสมัยโบราณ ได้คิดทำเครื่องมือเครื่องใช้เพื่อการประกอบอาชีพ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นอาชีพในกลุ่มของเกษตรกรรม การทำนาปลูกข้าวเป็นหนึ่งในอาชีพของชาวบ้านในชนบททั่วไป เกือบทุกครอบครัวจะมีการทำนาเพื่อให้ได้ข้าวไว้กินตลอดปี ที่เหลือ จากการสำรองไว้เพื่อครอบครัวแล้วก็นำออกจำหน่ายเพื่อแลกเปลี่ยนเป็นเครื่องอุปโภคบริโภคอย่างอื่นบ้าง การทำนาในสมัยก่อนเป็น การทำเกษตรแบบพอมีพอกิน

ดังนั้นเครื่องมือในการทำนาก็ได้ปะดิษฐ์คิดทำขึ้นใช้เอง ในบรรดาเครื่องมือในการประกอบอาชีพทั้งหลาย เครื่องมือที่ใช้ในการไถนา หรือคันไถ ก็เป็นเครื่องมือที่สำคัญอย่างหนึ่ง ใครเป็นคนคิดทำเป็นคนแรกไม่มีใครรู้ แต่ได้รับการถ่ายทอดสืบต่อกันมา การสร้างเครื่องมือเหล่านี้ต้องใช้เวลานานพอสมควร เพราะต้องหาไม้เนื้อแข็งที่เหนียวและมีลักษณะใกล้เคียงกับชิ้นส่วนที่ต้องการทำ ซึ่งแต่ละชิ้นส่วนจะมีลักษณะการใช้งานที่แตกต่างกันไป แต่เมื่อรวมกันเป็นชุด จะประกอบด้วย (เรียกชื่อตามที่เรียกกันในจังหวัดนครศรีธรรมราช) หัวหมู หางยาม คันไถ แอก คราด ดังรูปข้างบน

หัวหมู

ผาน

หัวหมูทำจากไม้เนื้อแข็ง สามง่าม ด้านหน้ามีเดือยสำหรับไว้ครอบด้วยผาน ซึ่งทำด้วยเหล็ก และมีรูเดือยสหรับเชื่อมต่อด้วยหางยาม หน้าแป้นของหัวหมูจะพลิ้วเพื่อให้ดินพลิกออกด้านข้างด้านซ้าย


หางยาม

หางยาม ทำจากไม้เนื้อแข็งที่มีลักษณะโค้งงอ ด้านล่างมีเดือยสำหรับต่อกับหัวหมู และตรงกลางจะมีรูเดือยสำหรับต่อกับหางยาม ใช้ประโยชน์เพื่อการบังคับหัวหมู ทั้งในด้านทิศทางและความตื้นลึกของการไถ


คันไถ

คันไถ ทำจากไม้เนื้อแข็ง มีลักษณะโค้งงอ 2 ชั้นดังรูป ใช้เป็นตัวเชื่อมระหว่างหางยามกับแอก เป็นตัวกลางที่จะลากหัวหมูให้เดินหน้าตามแรงเดินของวัวหรือควายที่ใช้เทียม


แอก

แอก ทำจากไม้เนื้อแข็งที่มีความโค้งงอเล็กน้อย เจาะรูข้างละ 2 รู เพื่อใส่ไม้เหลากลมข้างละ 2 ซี่ สำหรับครอบลงบนคอวัว (ในภาพไม่มีซี่ เพราะหาไม่ได้แล้ว) ใช้เประโยชน์ในการบังคับวัวไม่ให้เดินออกนอกทาง และเป็นต้นแรงที่วัวจะลากคันไถ หางยาม หัวหมูให้พลิกดินที่ไถ


คราด

ทำด้วยไม้เนื้อแข็ง เจาะรูสำหรับใส่ซี่คราก ซึ่งทำด้วยไม้เนื้อแข็งเช่นเดียวกัน ถัดจากซี่กลางข้างละ 2 ซี่ จะใช้ซี่ยาวเพื่อทำเป็นคันคราด สำหรับจับเพื่อบังคับการคราด และมีรูเดือยสำหรับเชื่อมต่อกับคันไถ คราดใช้ประโยชน์หลังจากการไถ ทำให้ดินร่วน เล็กลง และทำให้เป็นตม พร้อมที่จะหว่านหรือปักดำต่อไป

วันศุกร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2550

โครงการน้ำมันเชื้อเพลิงทดแทนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

Car using Replacement Energyพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงห่วงใยในความเดือดร้อนทุกข์ยากของประชาชนชาวไทย ทรงคิดพิจารณาหาหนทางบำบัดทุกข์บำรุงสุขอยู่ตลอดเวลา ด้วยสายพระเนตรอันยาวไกล ทรงเล็งเห็นถึงความสำคัญของแหล่งพลังงานทดแทน ที่จะสามารถนำมาใช้งานภายในประเทศ หากเกิดวิกฤตการณ์ ด้านน้ำมันเชื้อเพลิงขึ้นในอนาคต

การนำน้ำมันที่สกัดจากพืชมาใช้เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงทดแทนสำหรับเครื่องยนต์ดีเซล ก็เป็นโครงการในพระราชดำริอีกโครงการหนึ่ง โดยทรงให้ทดลอง นำน้ำมันปาล์มมาใช้กับ เครื่องยนต์ดีเซล เพราะปาล์มเป็นพืชที่ให้ปริมาณน้ำมันต่อพื้นที่ปลูก สูงกว่าพืชชนิดอื่นๆ และมีต้นทุนการผลิตต่ำที่สุด ในกระบวนการผลิดน้ำมันพืชในปัจจุบัน อีกทั้งยังเป็นผลผลิต ที่เกษตรสามารถผลิตขึ้นได้เองภายในประเทศ

การทดลองใช้น้ำมันปาล์มเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องยนต์ดีเซล เริ่มต้นลงมือกันตั้งแต่ เดือนกันยายน 2543 เป็นต้นมา โดยแนวความคิดจากสมมุติฐาน การออกแบบเครื่องยนต์ดีเซลต้นแบบเดิมที่ออกแบบสำหรับใช้กับน้ำมันเชื้อเพลิง ที่มีความไวไฟต่ำ เช่น น้ำมันพืชทั่วๆไป และหลักการทำงานพื้นฐานของ เครื่องยนต์ดีเซลในปัจจุบันก็ยังคงเดิมอยู่ หากแต่ว่าได้มีการพัฒนานำเอาเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาช่วยเสริมให้ ประสิทธิภาพ และสมรรถนะของเครื่องยนต์ ให้ดีขึ้นกว่าเดิมมาก ในการทดลองนี้ได้ นำเอาน้ำมันปาล์มประเภทต่างๆ มาทดลองใช้กับเครื่องยนต์ดีเซลประเภทต่างๆ ที่มีใช้อยู่ในประเทศไทยในปัจจุบัน รวมไปถึงเครื่องยนต์ดีเซลรุ่นใหม่ ที่กำลังจะนำเข้ามาใช้ในอนาคต ทำการทดลองทั้งในห้องทดลอง

Replacement Energy Testingและในสภาพแวดล้อมการใช้งานปกติทั่วไป ซึ่งปรากฎว่า น้ำมันปาลม์กลั่นบริสุทธิ์ (R.B.D. Palm Olein) มีความเหมาะสมที่จะนำมาใช้เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงดีเซลมากที่สุด โดยไม่ต้องมีการปรับแต่ง หรือดัดแปลงเครื่องยนต์ แต่ประการใด ทั้งยังสามารถสลับเปลี่ยนหรือผสมกับน้ำมันดีเซลทั่วไป ได้ทันทีทุกอัตราส่วน ในด้านประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องยนต์ ที่ใช้น้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ ก็ยังคงให้ประสิทธิภาพการทำงานสูงสุดของเครื่องยนต์ ตามที่ผู้ออกแบบได้ออกแบบไว้ ทั้งแรงม้า (Power) แรงบิด (Torque) และรอบการทำงานของเครื่องยนต์ และจากการทดลองก็พบว่า ในเครื่องยนต์ดีเซลบางแบบ กลับให้ประสิทธิภาพการทำงานสูงกว่าการใช้น้ำมันดีเซลธรรมดา หลังจากการทดลองประสบความสำเร็จ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงได้ทรงขอจดสิทธิบัตร ที่กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพานิชย์ เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2544 ได้สิทธิบัตรเลขที่ 10764 ในชื่อ การใช้น้ำมันปาล์ม กลั่นบริสุทธิ์เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องยนต์ดีเซล

การนำน้ำมันปาล์มกลั่นบริสุทธิ์ มาใช้แทนน้ำมันดีเซล ก็พบว่าน้ำมันปาล์มกลั่นบริสุทธิ์ หรือที่เรียกกันว่า ปาล์มโอเลอีน ซึ่งเป็นน้ำมันที่ใช้ในการปรุงอาหาร มาใช้กับเครื่องยนต์ดีเซลมีข้อดี ในส่วนที่เป็นน้ำมันสะอาด และมีความไวไฟต่ำทำให้สะดวกในการเก็บ เป็นสารชีวภาพที่สามารถย่อยสลายตัวได้ง่าย หากปนเปื้อนไปในสิ่งแวดล้อม และจากการทดลองก็พบว่าไอเสียที่ปล่อยจากการสันดาปภายในเครื่องยนต์ มีคุณภาพดีกว่า น้ำมันดีเซล คือควันดำและเขม่าน้อยมาก ไม่มีกลิ่นฉุน และไม่มีสารซัลเฟอร์ อันเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต และกัดกร่อนสร้างความเสียหาย แก่อุปกรณ์ในเครื่องยนต์ อีกทั้งยังมีคุณสมบัติด้านการหล่อลื่นในตัวเอง ทำให้ช่วยลดการสึกหรอและเสียงรบกวนของเครื่องยนต์ ซึ่งจะส่งผลให้เครื่องยนต์มีอายุการใช้งานยืนยาวขึ้น อีกทั้งยังช่วย อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และสามารถผลิตได้เองภายในประเทศ ลดการขาดดุลการค้าระหว่างประเทศ เป็นการช่วยเหลือเกษตรกร

จากเว็บ : technology.thai.net

สิทธิบัตร
การใช้น้ำมันปาล์ม กลั่นบริสุทธิ์เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องยนต์ดีเซล

photo of Intellectual Property



ลักษณะและความมุ่งหมายสิทธิบัตร

การนำน้ำมันปาล์มกลั่นบริสุทธิ์ (R.B.D. Palm Olein) 100% โดยปริมาตร มาใช้กับเครื่องยนต์ดีเซลทุกชนิด โดยไม่ต้องผสมกับน้ำมันดีเซล หรือน้ำมันเชื้อเพลิงอื่นๆ หรือโดยการนำมาใช้ผสมกับน้ำมันดีเซล ได้ทุกอัตราส่วนตั้งแต่ 0.01-99.99 % โดยปริมาตร

น้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ (R.B.D. Palm Olein) มีคุณสมบัติดังนี้

  • ค่า FFA (% as oieic acid) 0.15 max.
  • ค่าเพอร์ออกไซด์ PV (meq/kg) 3.00 max.
  • สารที่ไม่ละลายในน้ำมัน 0.10 max.
  • ค่าไอโอดินแบบวิจส์ IV (Wijs) 54-59
  • จุดมัว Cloud Point C.O.C.S., (C 10 max.
  • สี Color (Lovibond 5.25 inch. Cell) 30Y3R max.

แบบฝึกหัด

แบบฝึกหัดท้ายบท

1. คำว่า Communis แปลว่า คล้ายคลึง หรือร่วมกัน
2. การสื่อความหมาย หมายถึง กระบวนการส่งหรือถ่ายทอดความรู้ เนื้อหา สาระ ความรู้สึกนึกคิด ทัศนคติ ค่านิยม ทักษะ ตลอดจนประสบการณ์จากบุคคลฝ่ายหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า ผู้ส่งไปยังบุคคลอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งเรียกว่า ผู้รับ
3. Sender --> Message --> Channel --> Receiver
4. สาร หมายถึง เนื้อหา สาระ ความรู้สึก ทัศนคติ ทักษะ ประสบการณ์ ที่มีอยู่ในตัวผู้ส่ง หรือแหล่งกำเนิด
5. Elements หมายถึง องค์ประกอบย่อย ๆ พื้นฐานที่จำเป็นต้องมี
ตัวอย่างเช่น สระ พยัญชนะ วรรณยุกต์ หรือสีแดง สีเหลือง เส้น เป็นต้น
6. Structure หมายถึง โครงสร้างที่เกิดจากการนำเอาองค์ประกอบย่อย ๆ มารวมกัน
ตัวอย่างเช่น คำ ประโยค รูปทรง
7. Content หมายถึง เนื้อหาหรือข้อมูล ของผู้ส่ง
ตัวอย่างเช่น รายละเอียด ส่วนประกอบย่อย ๆ
8. Treatment หมายถึง วิธีการทำ หรือ รูปแบบวิธีการที่แตกต่างกันไป
ตัวอย่างเช่น แบบการส่งข่าวสาร
9. Code หมายถึง รหัส คือ คำพูด หรือภาษาที่ใช้ในการสื่อสาร
ตัวอย่าง เช่น ประโยคคำถาม คุณไปไหนมา
10. อุปสรรคหรือสิ่งรบกวนภายนอก เช่น เสียงดังรบกวน อากาศร้อน แสงแดด
11. อุปสรรคหรือสิ่งรบกวนภายใน เช่น ความเครียด อารมณ์ขุ่นมัว อาการเจ็บป่วย
12. Encode หมายถึง การเข้ารหัส
13. Decode หมายถึง การถอดรหัส
14. จงอธิบายการสื่อความหมายในการเรียนการสอนมาให้ครบถ้วนและถูกต้อง
ตอบ กระบวนการเรียนการสอนเป็นกระบวนการสื่อความหมายอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งมีองค์ประกอบคือ ครู เนื้อหา,หลักสูตร สื่อ/ช่องทาง นักเรียน และผลย้อนกลับ
1. ครูในฐานะเป็นผู้ส่งสาร และเป็นผู้กำหนดจุดมุ่งหมายของการสอน ครูจึงควรมีพฤติกรรมดังนี้
1.1 ต้องมีความเข้าใจในเนื้อหาที่จะสอนเป็นอย่างดี
1.2 มีความสามารถในการสื่อความหมาย เช่น การพูด การเขียน ลีลา ท่าทาง ฯลฯ
1.3 ต้องจัดบรรยากาศในการเรียนให้เอื้อต่อการเรียนรู้
1.4 ต้องวางแผนจัดระบบการถ่ายทอดความรู้ให้เหมาะสมกับเนื้อหาและผู้เรียน
2. เนื้อหา หลักสูตร ตลอดจนทัศนคติ ทักษะ และประสบการณ์เป็นสิ่งสำคัญที่ครูจะถ่ายทอดไปสู่ผู้เรียน ดังนั้นเนื้อหาควรมีลักษณะดังนี้
2.1 เหมาะสมกับเพศและวัยของผู้เรียน
2.2 สอดคล้องกับเทคนิค วิธีสอน หรือสื่อต่าง ๆ
2.3 เนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับเวลา ควรปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่เสมอ

3. สื่อหรือช่องทาง เป็นตัวกลางหรือพาหนะที่จะนำเนื้อหาจากครูผู้สอนเข้าไปสู่ภายในของผู้เรียน ลักษณะของสื่อควรเป็นดังนี้
3.1 มีศักยภาพเหมาะสมกับธรรมชาติของเนื้อหา
3.2 สอดคล้องกับธรรมชาติของประสาทสัมผัสแต่ละช่องทาง
3.3 เด่น สะดุดตา ดูง่าย สื่อความหมายได้ดี
4. นักเรียนหรือผู้เรียน เป็นเป้าหมายหลักของกระบวนการเรียนการสอนที่จะทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้เรียนจึงควรมีลักษณะดังนี้
4.1 มีความสมบูรณ์ทางด้านร่างกาย โดยเฉพาะประสาทสัมผัสทั้ง 5
4.2 มีความพร้อมทางด้านจิตใจ อารมณ์มั่นคงปกติ
4.3 มีทักษะในการสื่อความหมาย
4.4 มีเจตคติต่อครูผู้สอนและเนื้อหาวิชา
15. จงอธิบายถึงความล้มเหลวของการสื่อความหมายในการเรียนการสอน
ตอบ การเกิดความล้มเหลวของการสื่อความหมายในการเรียนการสอน เนื่องจากอุปสรรคหลายประการ ดังนี้
1. ครูผู้สอนไม่บอกวัตถุประสงค์ในการเรียนให้ผู้เรียนรทราบก่อนลงมือสอน ทำให้ผู้เรียนขาดเป้าหมายในการเรียน
2. ครูผู้สอนไม่คำนึงถึงข้อจำกัดและขีดความสามารถของผู้เรียนแต่ละคน จึงมักใช้วิธีสอนแบบเดียวกันทุกคน
3. ครูผู้สอนไม่สนใจที่จะจัดบรรยากาศ ขจัดอุปสรรคและสร้างความพร้อมให้แก่ผู้เรียนก่อนลงมือสอน
4. ครูผู้สอนบางคนใช้คำยาก ทำให้ผู้เรียนไม่เข้าใจความหมายของคำ และเนื้อหาโดยรวม
5. ครูผู้สอนมักนำเสนอเนื้อหาวกวน สับสน รวดเร็ว ไม่สัมพันธ์ต่อเนื่อง กระโดดไปมา ทำให้เข้าใจยาก
6. ครูผู้สอนไม่สนใจที่จะใช้สื่อการสอนหรือเลือกใช้สื่อการสอนไม่เหมาะสมกับเนื้อหา และระดับของผู้เรียน

วันศุกร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

นวัตกรรมการศึกษา

นวัตกรรมการศึกษา
ชุดการสอนกล่าวกันว่าสาเหตุหลักอันหนึ่งที่ทำให้การเรียนการสอนไม่มีประสิทธิภาพ นั่นก็คือ ความรู้ความสามารถของผู้สอนในการรู้จักนำนวัตกรรมมาใช้ในการเรียนการสอน การสอนไม่ใช่การที่ผู้สอนเพียงแต่มายืนพูดอยู่หน้าชั้นแต่จำเป็นที่จะต้องรู้จักนำนวัตกรรมหรือเทคโนโลยีมาช่วยให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพสูงขึ้น ชุดการสอนเป็นนวัตกรรมการใช้สื่อประสมที่อาศัยวิธีการจัดระบบการดำเนินงานมาบูรณาการสื่อต่าง ๆ เมื่อปี พ.ศ.2516 ศาสตราจารย์ ดร.ชัยยงค์ พรหมวงศ์ ได้ทดลองใช้ระบบผลิตชุดการสอนในวิชา "เทคโนโลยีและการศึกษาร่วมสมัย" สำหรับบัณฑิตศึกษา และเผยแพร่แนวคิดนี้ไปยังสถาบันการศึกษาทั้งระดับอุดมศึกษา และต่ำกว่าอุดมศึกษาจนเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป เนื่องจากระบบการผลิตชุดการสอนได้รับทุนสนับสนุนจากทุนวิจัยรัชดาภิเษกสมโภชของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดังนั้นจึงรู้จักกันในอีกชื่อก็คือ "ระบบการผลิตชุดการสอนแบบจุฬา (Chlalongkorn University Plan for Multi Media Instructional Package Production หรือ CHULA PLAN"
10.3.1 ความหมายของชุดการสอน ศาสตราจารย์ ดร.ชัยยงค์ พรหมวงศ์ (2521:191) ได้ให้ความหมายของสื่อการสอนไว้ว่า "ชุดการสอน คือ การนำระบบสื่อประสม ที่สอดคล้องกับเนื้อหาและประสบการณ์ของแต่ละหน่วย มาช่วยให้การเปลี่ยนพฤติกรรมการเรียนรู้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ชุดการสอนนิยมจัดไว้ในกล่องหรือซองเป็นหมวด ๆ ภายในชุดการสอนจะประกอบด้วย คู่มือการใช้ชุดการสอน สื่อการสอนที่สอดคล้องกับเนื้อหาและประสบการณ์ อาทิ รูปภาพ สไลด์ เทป ภาพยนตร์ขนาด 8 มม. แผ่นคำบรรยาย วัสดุอุปกรณ์ การสาธิต (หากมี) ฯลฯ และการมอบหมายงานเพื่อให้ผู้เรียนมีประสบการณ์กว้างขวางขึ้น
"10.3.2 ประเภทชุดการสอน เมื่อพิจารณาจากคำนิยามของชุดการสอน จะเห็นได้ว่า ชุดการสอนจะประกอบไปด้วย คู่มือการใช้สื่อการสอน สื่อการสอน และการมอบหมายงานหลังจากการเรียน ซึ่งจะอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้สอนและผู้เรียนในกระบวนการเรียนการสอน ชุดการสอนเมื่อพิจารณาจากรูปแบบของการกิจกรรมการเรียนการสอน แบ่งออกได้เป็น 4 ประเภทด้วยกันคือ
1) ชุดการสอนประกอบการบรรยายของครู ชุดการสอนประเภทนี้บทบาทหลักจะอยู่ที่ผู้สอน ในการที่จะดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอนตามที่กำหนดไว้ในชุดการสอน
2) ชุดการสอนรายบุคคล สำหรับผู้เรียนจะเรียนด้วยตนเองโดยจะรับชุดการสอนไปเรียนด้วยตนเอง โดยใช้เวลาตามความสามารถของตนเอง
3) ชุดการสอนแบบกิจกรรมกลุ่ม หรือแบบศูนย์การเรียน ชุดการสอนแบบนี้ผู้เรียนจะเรียนเป็นกลุ่มเล็ก ๆ ประมาณ 4-6 คน โดยผู้เรียนจะช่วยกันศึกษาเนื้อหา ทำกิจกรรมต่าง ๆ จากสื่อที่เตรียมไว้ในชุดการสอน ผู้สอนจะเป็นเพียงผู้ช่วยเหลือให้คำแนะนำเมื่อมีปัญหาในการเรียน
4) ชุดการสอนทางไกล ชุดการสอนแบบนี้เป็นชุดการสอนที่ผู้เรียนจะเรียนด้วยตนเอง แต่มีข้อแตกต่างกับชุดการสอนรายบุคคล ในส่วนที่ชุดการสอนรายบุคคล ผู้สอนจะเป็นผู้เก็บรวบรวมไว้ที่ผู้สอน ผู้เรียนจะมาพบผู้สอนเพื่อขอศึกษาเนื้อหาจากชุดการสอนที่ผู้เรียนเตรียมไว้ ขณะที่ชุดการสอนทางไกล ผู้เรียนจะเก็บรวบรวมชุดการสอนไว้กับตนเอง ตัวอย่างชุดการสอนทางไกลที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดก็คือ ชุดการสอนทางไกลของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช หรือชุดการสอนทางไกลของกรมการศึกษานอกโรงเรียน

วันพฤหัสบดีที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2550

เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอน

แนวโน้มการวิจัยทางเทคโนโลยีการศึกษาตามนโยบาย


การวิจัยทางเทคโนโลยีการศึกษาเป็นการศึกษาค้นคว้าหาข้อเท็จจริงต่างๆ ในประเด็นที่เป็นปัญหาต่างๆ เพื่อเสาะแสวงหาความรู้ เทคนิค วิธีการ ตลอดจนข้อสรุปต่างๆ เกี่ยวกับเทคโนโลยีการศึกษาเพื่อแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาการศึกษา สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งที่ส่งผลต่อแนวทางในการวิจัยทางเทคโนโลยีการศึกษาก็คือนโยบายและแผนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นระดับชาติ ระดับกระทรวง ระดับหน่วยงาน ซึ่งถือเป็นกรอบและแนวทางในการดำเนินงานในด้านต่างๆ รายละเอียดดังนี้
1. นโยบายและแผนที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีการศึกษา
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 หมวด 9 เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ได้กำหนดบทบาทหน้าที่ของรัฐเกี่ยวกับการจัดการด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา โดยกำหนดขอบเขตครอบคลุมไปถึงการจัดการโครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาบุคลากร การวิจัย การจัดตั้งกองทุนและหน่วยงานกลางเพื่อวางนโยบายและบริหารงานเกี่ยวกับเทคโนโลยีการศึกษา หากพิจารณาในภาพรวมในระดับประเทศ จะเห็นได้ว่ารัฐบาลได้ให้ความสำคัญในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาประเทศ โดยได้กำหนดกรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศระยะ พ.ศ. 2544-2553 ของประเทศไทย ในการให้ประชาชนคนไทยทุกคนสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อการพัฒนาอาชีพ คุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม โดยได้รับบริการที่ทั่วถึงเท่าเทียม มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพ นำไปสู่การสร้างสังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ โดยมีกลไกการบริหารนโยบายและการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศเพื่อการศึกษา และสนับสนุนส่งเสริมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในทุกระดับ โดยเร่งพัฒนาและจัดหาความรู้(Knowledge)และสาระทางการศึกษา(Content) ที่มีคุณภาพและเหมาะสม ลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงสารสนเทศและความรู้ และสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ อีกทั้งแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศไทย พ.ศ. 2545-2549 โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2545 ได้กำหนดให้ทุกกระทรวงต้องจัดทำแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารขึ้น ซึ่งในส่วนของการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาด้านการศึกษา (E-Education) มีเป้าหมายในการสร้างความพร้อมของทรัพยากรมนุษย์ทั้งหมดของประเทศ เพื่อช่วยกันพัฒนาให้เกิดสังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ เน้นการจัดหา จัดสร้าง ส่งเสริม สนับสนุน โครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศและอุปกรณ์เกี่ยวเนื่องกับการศึกษาและการเรียนรู้ รวมถึงวิชาการ ความรู้ สารสนเทศต่างๆ อันจะมีส่วนในการจัดการและการบริหารการศึกษาและการฝึกอบรมทั้งวิชาการและทักษะเพื่อพัฒนาและยกระดับคุณภาพความรู้ของทรัพยากรมนุษย์ของไทยให้เป็นประชากร กำลังคนและแรงงานที่มีคุณภาพและสมบูรณ์ด้วยปัญญาและการเรียนรู้ สามารถสร้างสรรค์เศรษฐกิจและสังคมไทยให้มีความเจริญก้าวหน้าทัดเทียมประเทศที่พัฒนาไปแล้วได้โดยเร็ว ในส่วนของการศึกษากำหนดให้กระทรวงศึกษาธิการเป็นผู้รับผิดชอบโดยได้ดำเนินการจัดทำแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ (พ.ศ. 2547-2549) ได้กำหนดวิสัยทัศน์ให้ผู้เรียนทุกคน สถานศึกษาและหน่วยงานทางการศึกษาทุกแห่ง มีโอกาสเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต การวิจัย การพัฒนา อาชีพ การบริหารจัดการ การพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยได้รับการบริการอย่างทั่วถึงเท่าเทียม มีคุณภาพและประสิทธิภาพ นำไปสู่สังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ โดยการนำ ICT มาสนับสนุนการจัดการศึกษา ทั้งด้านการเรียนรู้และการบริหารจัดการ โดยเน้นการพัฒนาคุณภาพประสิทธิภาพการเรียนรู้ การพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการ การผลิตและพัฒนาบุคลากรและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ICT เป็นต้น ทั้งนี้จากการรวบรวมนโยบายและแผนต่างๆ ดังกล่าวข้างต้น สรุปได้ดังนี้
1. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 หมวด 9 เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา (แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545)

2.แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545–2549)

3. กรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศระยะ พ.ศ. 2544-2553 ของประเทศไทย

4. แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ (พ.ศ. 2547 – 2549)

5.แผนแม่บทงานวิจัยในสาขาเทคโนโลยีการศึกษา

ประวัติส่วนตัว

นันทนา (เสื้อสีขาวค่ะ)

ชื่อ นาง นันทนา เจริญภักดี

ที่อยู่ 6 หมู่ 3 ต. หลุมดิน อ. เมือง จ. ราชบุรี 70000.

การทำงาน ครูจ้างสอน (โรงเรียนวัดบางลี่)

การศึกษา ปริญญาตรี (การจัดการทั่วไป)
สถาบันราชภัฎหมู่บ้านจอมบึง


ปัจจุบัน กำลังศึกษาต่อ ป.บัณฑิตวิชาชีพครู
ศูนย์ราชโบริกานุเคราะห์ รุ่นที่ 10